กันสะบัด มันมีประโยชน์จริงๆ หรือว่าแค่ใส่เท่ห์ๆ
กันสะบัด เป็นหนึ่งในของแต่งรถมอเตอร์ไซค์ที่เหล่าบรรดาไบค์เกอร์ต่างนิยมหามาใช้ติดตั้งบนตัวรถเพื่อความปลอดภัยแต่กันสะบัดนั้นมีการทำงานอย่างไรและมันช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้นจริงๆหรือไม่ทำไมรถบางคันถึงมี ทำไมรถบางคันถึงไม่มี หรือเราจะเห็นมันเฉพาะในรถที่มีแรงม้าสูงความเร็วสูงหรือในสนามแข่งเท่านั้น
ในบทความนี้จะขออธิบายหลักการทำงานของกันสะบัดก่อน กันสะบัดจะมีหน้าตาอย่างไรก็ตามแต่แต่หลักการทำงานของมันก็คือเพิ่มความหนืดให้กับแฮนรถมอเตอร์ไซค์โดยที่เมื่อเวลามอเตอร์ไซค์เกิดอาการเสียการทรงตัวไม่ว่าจะเกิดจากการออกโค้งอย่างรุนแรงในขณะที่ล้อทางด้านหน้าไม่อยู่ในภาวะสมดุลหรือการเจอรอยต่อถนนที่ไม่เรียบจะทำให้แฮนด์รถมีอาการที่เขาเรียกว่าชกมวยได้กันสะบัดก็จะเข้ามาทำหน้าที่ในตรงนี้คือเพิ่มความหนืดของแฮนไม่ให้เกิดการสะบัดจนเอาไม่อยู่
1 กันสะบัด ที่ปรับตั้งความหนืดด้วยมือ
2 กันสะบัด ที่ปรับตั้งความหนืดด้วยไฟฟ้า
โดยการปรับตั้งความหนืดด้วยไฟฟ้าจะถูกสั่งการมาจากกล่อง ECU ของรถโดยที่มีการคำนวณว่าตอนนี้ในขณะนี้รถมีความเร็วเท่าไหร่รถมีรอบเครื่องเท่าไหร่แล้วส่งสัญญาณมาปรับตั้งความหนืดที่กันสะบัดอีกทีข้อดีของ กันสะบัด ไฟฟ้าคือในขณะที่รถมีความเร็วต่ำอย่างเช่นการซอกแซกอยู่ในพื้นผิวการจราจรที่คับคั่งความหนืดของโช๊คกันสะบัดจะน้อยทำให้สามารถหักแฮนรถได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวไม่เหนื่อยไม่ต้องออกแรงเยอะแต่ในขณะที่เร่งความเร็วขึ้นกันสบัดจะค่อยๆปรับตั้งความหนืดขึ้นมาเองเพื่อรองรับการสะบัดของแฮนรถที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นยิ่งขับเร็วก็จะยิ่งหนืดมากขึ้นเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
ทีนี้มาเราลองมาดูกันสบัดแบบ ตั้งค่าความหนืดด้วยมือดูบ้างโดยกันสบัดประเภทนี้จะเห็นมากในสนามแข่งเพราะว่าในการแข่งขันรถตัดสินกันเป็นแค่เสี้ยววินาทีถ้าให้กันสะบัดไฟฟ้าทำงานอาจจะช้าไปหรือความหนืดอาจจะไม่ถูกใจนักแข่ง ดังนั้นนักแข่งจะรู้เองว่าความหนืดระดับไหนถึงจะเหมาะพอเหมาะกับในสนามไหนและต้องค่อยๆปรับความหนืดให้เข้ากับตัวเองมากที่สุด ตั้งทีเดียวใช้ตลอดตั้งแต่ออกตัวจนเข้าเส้นชัยเพราะว่าขี่เร็วตลอดอยู่แล้ว
ตัดกลับมาในเรื่องของรถที่ใช้บนท้องถนนกันบ้างรถที่ผลิตออกมาขายโดยทั่วไปจะมีทั้งติดตั้งกันสะบัดมาเลยจากโรงงานและไม่มีกันสบัดถ้าเราสังเกตดีๆเราจะเห็นได้ว่ารถที่มี กันสบัดมาจากโรงงาน 90% จะเป็นกันสบัดไฟฟ้าเพราะว่าในการขับขี่บนถนนจริงเราคงจะไม่คอยมานั่งปรับความหนืดอยู่ตลอดเวลารถติดก็ปรับ รถเร่งก็ปรับ ความเร็วสูงก็ปรับไปๆมาๆเราก็เลิกปรับเพราะว่าขี้เกียจนั่นเอง ดังนั้นการสะบัดไฟฟ้าที่ติดมาจากโรงงานจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแต่ถ้ารถที่ไม่มีกันสบัดมาจากโรงงานต้องการติดกันสะบัดเพิ่มรถเหล่านี้จะไม่สามารถติดกันสะบัดแบบไฟฟ้าได้เพราะว่าต้องอาศัยการสั่งงานจาก ECU ของรถจึงติดได้แค่กันสบัดแบบปรับด้วยมือ ข้อดีคือ ยังไงก็ดีกว่ารถที่ไม่มีกันสบัดแน่ๆอยู่แล้ว แต่ถ้าปรับเอาไว้หนืดจนเกินไปเวลาที่เราอยู่ในการจราจรคับคั่งหรือขับความเร็วช้า ซอกแซกที่ต่างๆจะค่อนข้างกินแรงในอีกทางหนึ่งหากปรับเอาไว้ น้อยจนเกินไปในความเร็วสูงๆก็อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่นักสุดท้ายนี้ถ้ารถที่ไม่ได้มีกันสะบัด การติดกันสะบัดก็ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เรื่องความปลอดภัยที่ดีอย่างหนึ่งแต่เราควรต้องเข้าใจการทำงานของมันด้วยว่าตอนไหนควรจะปรับแบบไหนในขณะที่ ถ้ารถมีกันสบัดมาจากโรงงานอยู่แล้วเป็นกันสะบัดไฟฟ้า การเปลี่ยนจากกันสะบัดไฟฟ้ามาเป็นแบบปรับมือจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในการใช้รถบนท้องถนน